ความเป็นมาและภารกิจ
กองทัพอากาศได้กำหนดทิศทางการดำเนินการพลังงานทดแทน
ตามแนวทางโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นโยบายรัฐบาล
นโยบายกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้กำหนดกรอบทิศทางการดำเนินการดังกล่าวในยุทธศาสตร์
กองทัพอากาศ พ.ศ.2551 ถึง 2562 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ.2552 และ พ.ศ.2557) โดยมีวิสัยทัศน์เป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค
ในหัวข้อยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างสมรรถนะและความพร้อมในการป้องกันประเทศ
เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุง โดยระบุโครงการ งาน
กิจกรรม ในแผนแม่บทการส่งกำลังบำรุง พ.ศ.2553–2556 และ พ.ศ.2557–2562 ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาด้านส่งกำลังบำรุงตามยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น รวมทั้งนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ
พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบัน
ได้ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานสำรองทั้งในยามปกติและในยามขาดแคลนพลังงาน
รวมทั้งมุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงานทุกรูปแบบ
เริ่มจากปี
2551
กองทัพอากาศได้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ศึกษาข้อมูลการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสำรอง
โดยมี พลอากาศโท อนาวิล ภิรมย์รัตน์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศ ฝ่ายยุทธบริการ
(ตำแหน่งขณะนั้น) เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำงาน
ได้จัดทำโครงการนำร่องพลังงานแสงอาทิตย์ ณ สถานีถ่ายทอดโทรคมนาคมบ้านลาดช้าง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีขนาดกำลังไฟฟ้าเฉลี่ย 10 กิโลวัตต์
นับเป็นจุดเริ่มต้นที่บทบาทและการดำเนินการของกองทัพอากาศกับพลังงานทดแทน
โดยเชื่อมต่อระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เข้ากับระบบไฟฟ้าปกติของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เมื่อ 15 ต.ค.51 และ พลอากาศเอก อิทธพร
ศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ (ตำแหน่งขณะนั้น) เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวเมื่อ
9 ธ.ค.51 สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 20,000 หน่วยต่อปี
ทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 55 หน่วยต่อวัน หรือคิดเป็นเงินประมาณ 60,000 บาทต่อปี อีกทั้งได้รับความรู้และข้อมูลเพื่อนำต้นแบบระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์ทางราชการ ตลอดจนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกองทัพอากาศในการใช้พลังงานสะอาด
ช่วยลดภาวะโลกร้อน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน
และสร้างจิตสำนึกให้กับข้าราชการและชุมชนด้านพลังงาน
ในปี 2552 กองทัพอากาศได้แต่งตั้งคณะกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดยมี พลอากาศเอก อนาวิล ภิรมย์รัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ
(ตำแหน่งขณะนั้น) เป็นประธานกรรมการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทนของกองทัพอากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นพลังงานสำรองได้ ทั้งในยามปกติ รวมทั้งในยามขาดแคลนพลังงาน
ตามนโยบายของกองทัพอากาศ และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
ในปี 2557 คณะกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดย
พลอากาศเอก เมธา สังขวิจิตร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ
เป็นประธานกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดยมีคณะทำงานประกอบด้วย
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านพลังงานลม โดย พลอากาศโท โสภณ สรรพนุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ
เป็นประธานอนุกรรมการ โดยมีหน้าที่ พิจารณา วางแผน
รับผิดชอบการจัดทำพลังงานทดแทนจากพลังงานลมในพื้นที่ของกองทัพอากาศ
ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองให้สอดคล้องกับความต้องการด้านพลังงานทดแทนของกองทัพอากาศ
ในด้านยุทธการ และส่งกำลังบำรุง ตลอดจนในภาพรวมของกองทัพอากาศ
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านพลังงานชีวมวล โดย พลอากาศตรี รัชฎา
วรภากร เจ้ากรมขนส่งทหารอากาศ เป็นประธานอนุกรรมการ
โดยมีหน้าที่ พิจารณา วางแผน รับผิดชอบการจัดทำพลังงานทดแทนจากพลังงานชีวมวลในพื้นที่ของกองทัพอากาศ
ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองให้สอดคล้องกับความต้องการด้านพลังงานทดแทนของกองทัพอากาศ
ในด้านยุทธการ และส่งกำลังบำรุง ตลอดจนในภาพรวมของกองทัพอากาศ
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดย พลอากาศตรี บรรจง
คลายนสูตร์ เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ
เป็นประธานอนุกรรมการ โดยมีหน้าที่ พิจารณา วางแผน
รับผิดชอบการจัดทำพลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ของกองทัพอากาศ
ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองให้สอดคล้องกับความต้องการด้านพลังงานทดแทนของกองทัพอากาศ
ในด้านยุทธการ และส่งกำลังบำรุง ตลอดจนในภาพรวมของกองทัพอากาศ
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านไบโอดีเซล
โดย พลอากาศตรี สุรสิทธิ์ โหละสุต รองเจ้ากรมช่างอากาศ
เป็นประธานอนุกรรมการ โดยมีหน้าที่ พิจารณา วางแผน รับผิดชอบการจัดทำพลังงานทดแทนด้านไบโอดีเซล
โดยใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียม ให้ครบวงจร
ในพื้นที่ของกองทัพอากาศ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองให้สอดคล้องกับความต้องการด้านพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ
ในด้านยุทธการ และส่งกำลังบำรุง ตลอดจนในภาพรวมของกองทัพอากาศ
คณะเจ้าหน้าที่ทำงานจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทนกองทัพอากาศ
โดย พลอากาศโท โสภณ สรรพนุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำงาน โดยมีหน้าที่ พิจารณา วางแผน กำกับการ ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทนกองทัพอากาศ
คณะเจ้าหน้าที่ทำงานด้านประชาสัมพันธ์กิจการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ
โดย รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำงานโดยมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์กิจการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ
ในปี 2558 ได้มีคำสั่งกองทัพอากาศ ที่ 88/57 ลง 30 ตุลาคม 2557 แต่งตั้งคณะกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดยมี พลอากาศเอก วรฉัตร ธารีฉัตร ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ เป็นประธานกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดยมีคณะทำงานประกอบด้วย
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านพลังงานลม โดย พลอากาศโท สุรศักดิ์ มีมณี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เป็นประธานอนุกรรมการ (มีหน้าที่เช่นเดียวกับในปี 57)
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านพลังงานชีวมวล โดย พลอากาศตรี อนันต์ จันทร์ส่งเสริม เจ้ากรมขนส่งทหารอากาศ เป็นประธานอนุกรรมการ (มีหน้าที่เช่นเดียวกับปี 57)
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดย พลอากาศตรี ชลิต รัมมะวาส เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ เป็นประธานอนุกรรมการ (มีหน้าที่เช่นเดียวกับปี 57)
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนด้านไบโอดีเซล โดย พลอากาศตรี สุรสิทธิ์ ปัญญาอุทัย เจ้ากรมช่างอากาศ เป็นประธานอนุกรรมการ (มีหน้าที่เช่นเดียวกับปี 57)
คณะเจ้าหน้าที่ทำงานจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดย พลอากาศโท สุรศักดิ์ มีมณี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำงาน (มีหน้าที่เช่นเดียวกับปี 57)
คณะเจ้าหน้าที่ทำงานด้านประชาสัมพันธ์กิจการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดย พลอากาศตรี สิทธิชัย แก้วบัวดี ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำงาน (มีหน้าที่เช่นเดียวกับปี 57)
คณะเจ้าหน้าที่ทำงานสำนักงานพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดย พลอากาศตรี ศิริพล ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็นหัวหน้าสำนักงาน
ในปี 2559 ได้มีคำสั่งกองทัพอากาศ ที่ 67/58 ลง 17 พฤศจิกายน 2558 แต่งตั้งคณะกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดยมี พลอากาศเอก สุรศักดิ์ มีมณี ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ เป็นประธานกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดยมีคณะทำงานประกอบด้วย
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดย พลอากาศตรี ชลิต รัมมะวาส เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ เป็นประธานอนุกรรมการ
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านพลังงานลม โดย พลอากาศตรี สมโภชน์ ผิวเหลือง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เป็นประธานอนุกรรมการ
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศด้านพลังงานชีวมวล โดย พลอากาศตรี อนันต์ จันทร์ส่งเสริม เจ้ากรมขนส่งทหารอากาศ เป็นประธานอนุกรรมการ
คณะอนุกรรมการพลังงานทดแทนด้านไบโอดีเซล โดย พลอากาศตรี สุรสิทธิ์ ปัญญาอุทัย รองเจ้ากรมช่างอากาศ เป็นประธานอนุกรรมการ
คณะเจ้าหน้าที่ทำงานศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดย พลอากาศตรี สมโภชน์ ผิวเหลือง รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำงาน
คณะเจ้าหน้าที่ทำงานด้านประชาสัมพันธ์กิจการพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดย นาวาอากาศเอก นินาท มูลจนะบาตร์ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำงาน
คณะเจ้าหน้าที่ทำงานสำนักงานพลังงานทดแทนกองทัพอากาศ โดย พลอากาศตรี ศิริพล ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็นหัวหน้าสำนักงาน